SEO กับ 200+ ปัจจัยการค้นหาของ Google

ดันอันดับ Google ด้วย SEO สำหรับลูกค้า Ponsomwang เท่านั้น

Search Engine Optimization

SEO หรือ Search Engine Optimization คืออะไร ?

SEO คือการทำให้เว็บไซต์ของร้านค้าติดอันดับต้นๆ ของผู้ให้บริการค้นหาอย่าง Google ด้วยวิธีการต่างๆ โดยอันดับที่ดีย่อมนำพามาซึ่งจำนวนผู้เข้าชมที่มากขึ้นนั่นเอง

โดยผลลัพธ์การค้นหา (SERP) จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. Paid หรือส่วนที่เป็น Ad มาจากการลงโฆษณากับ Google Adwords (เสียเงิน) และ 2. Organic หรือส่วนที่เป็นผลลัพธ์จริงๆ เกิดจากการทำ SEO เท่านั้น (ทำได้ด้วยตนเอง) ซึ่งในที่นี้เราจะทำให้ติดอันดับที่ที่ดีที่สุดในส่วนของ SEO

Google รู้ได้ยังไง ?
Google จะทำการส่งหุ่นยนต์ (Bot) มาเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ร้านค้าของคุณ (Crawl & Indexing) ยิ่งคุณอัพเดทร้านบ่อยๆ Google ก็จะมาหาคุณมากขึ้น หลังจากนั้นจะนำข้อมูลในเว็บทั้งหมด ทุกตัวอักษร ทุกรูปภาพ ไปประมวลผลตามกระบวนการคิด algorithm ของ Google เอง จนได้ออกมาเป็นคะแนนอันดับของเว็บไซต์ของเรา ซึ่งปัจจัยการคิดคะแนนของ Google หลักๆนั้นมีมากกว่า 200 รายการ ดังนี้

ปัจจัยด้านโดเมน (Domain name) เนื่องจากโดเมนเป็นประตูด่านแรกที่จะเข้าสู่เว็บไซต์ Google จึงให้ความสำคัญกับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับโดเมน

1.อายุของโดเมน (จดนานแล้ว – ดี)

2.มี keyword (คำค้นหา) ในชื่อโดเมน

3.keyword เป็นคำแรกในโดเมน 

4.วันหมดอายุของโดเมน (เหลือมาก – ดี)

5.มี keyword ในชื่อซับโดเมน

6.ประวัติของโดเมน (หากเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองบ่อย – ไม่ดี)

7.keyword ตรงกับชื่อโดเมนทั้งหมด

8.เปิดเผยข้อมูลใน Whois
whois คือเว็บตรวจสอบข้อมูลชื่อผู้ถือครองโดเมน

9.ชื่อผู้ถือครองใน whois ไม่เป็นผู้ที่ทำผิดข้อบังคับ google

10.นามสกุล .co.th (ดีกว่า .com)
แต่ .th จะมีอันดับต่ำกว่า หากค้นหาแบบทั่วโลก (ปกติจะเป็น Google ประเทศไทย)

รู้หรือไม่ ? การตั้งชื่อโดเมนที่ดีควรจะ “สั้น จำง่าย และมีเอกลักษณ์”
ปัจจัยเกี่ยวกับแต่ละหน้าเพจ (Page-Level) Google จะให้คะแนนแยกกันแต่ละหน้าเพจ และแยกกันตาม keyword ทั้งหมดที่หน้านั้นมี ซึ่งจะเห็นได้ว่า Content นั้นสำคัญที่สุด

11.มี keyword ใน Title Tag

รู้หรือไม่ ?Title ที่จะเพิ่ม Traffic ได้ดี อาจเพิ่มคำเหล่านี้ เช่น สุดยอด, รีวิว, วิธีการ, ในปี 2559, 10 [ใส่ตัวเลขนำหน้าประมาณ Top 10] เป็นต้น ระวังอย่าใช้คำที่เป็น Clickbait เช่น “คุณจะทึ่งถ้าเห็นสิ่งนี้” จะทำให้ลดอัตราการแชร์อย่างมาก และถึงแม้คนจะเข้าเยอะแต่เกิด Bounce Rate สูง (อัตราการเด้งออก ไม่คลิกหน้าอื่นต่อ) ซึ่ง Google ไม่ชอบ

12.keyword เป็นคำแรกใน Title Tag

13.มี keyword ใน Description Tag

รู้หรือไม่ ? Google มักจะไม่แสดง Description ตามที่เรากำหนดใน Meta Tag แต่มักจะนำส่วนข้อความส่วนบนในหน้ามาแสดงมากกว่า

14.มี keyword ใน H1 Tag
รู้หรือไม่ ?ชื่อสินค้าควรมาใส่ใน Title Tag และ H1 Tag และนำรายละเอียดสินค้ามาใส่ใน Description Tag ซึ่งแปลว่าคุณต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับชื่อสินค้า
 
15.มีการใช้คำ keyword นั้นซ้ำมากกว่าคำอื่นๆในหน้านั้น (เทียบคำต่อคำ)
ทาง SEO เรียกว่า keyword frequency หมายถึงมีคำ keyword ปรากฏในหน้านั้นๆ มากกว่าคำอื่น เช่น มีคำว่า “ชุดเกาหลี” 10 ครั้ง เทียบกับคำอื่นที่มีแค่ 2-3 ครั้งในหน้านั้น ปล.ระวังอย่าให้คำ keyword (คำที่ตรงเป๊ะ) ในเนื้อหาเกิน 4-5 ครั้ง พยายามใช้คำอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องด้วย
 
16.มีเนื้อหาข้อความมากพอสมควร (1,000+ คำ)

รู้หรือไม่ ? การเขียนเนื้อหาสำหรับ e-commerce ที่ดีควรเขียนให้เหมือนกับการเขียน blog ซึ่งเน้นที่เนื้อหา ใข้คำที่เกี่ยวข้อง (LSI) และเขียนให้มากเกิน 1,000 คำ

17.มีความหนาแน่นของ keyword ในหน้า (เทียบคำต่อทั้งหมด)
ทาง SEO เรียกว่า keyword density หมายถึงมีคำ keyword ปรากฏในหน้านั้นๆ เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ต่อคำทั้งหมด เช่น มีคำว่า “ชุดเกาหลี” 10 คำจากทั้งหมด 200 คำ

18.มีคำแทน, คำที่เกี่ยวเนื่อง/เกี่ยวข้องในหน้าด้วย
เพื่อแยกความแตกต่างของคำๆ หนึ่งได้อย่างชัดเจน เช่น ‘นั่งตากลม’ อาจเป็นการนั่งเพื่อกินลม หรือ นั่งแล้วทำตากลมเป็นดวง ซึ่งหากมีคำเกี่ยวเนื่อง Google จะเข้าใจเนื้อหาของเราได้ง่ายขึ้น
รู้หรือไม่ ?คุณสามารถหาคำแทนกันหรือคำที่เกี่ยวข้อง ทาง SEO เรียกว่า Latent Semantic Indexing (LSI) ได้จากการค้นหา Google ที่ด้านล่างของการค้นหา (SERP) จะมีส่วนแสดงผล “คำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ keyword”

19.มีคำที่เกี่ยวเนื่อง/เกี่ยวข้องใน Title และ Description Tag

20.โหลดเว็บได้อย่างรวดเร็ว
(ไม่ควรใส่รูปภาพหรือสินค้าในแต่ละหน้ามากเกินไป)

21.ไม่ควรมีเนื้อหา/บทความที่ซ้ำกัน

22.ใช้ Rel=Canonical เพื่อบ่งบอกหน้าที่ซ้ำกัน

23.โหลดเว็บด้วย Chrome ได้อย่างรวดเร็ว

24.ใส่ข้อมูลให้รูปภาพทั้ง ชื่อไฟล์, Alt Text, Title Description และ Caption
ใส่ Alt ให้เหมือนกับการใส่คำอธิบายภาพนั้นๆ เป็นวลีหรือประโยค หลีกเลี่ยงการใส่แต่ keyword

25.ความสดใหม่ของเนื้อหา/บทความ (ยิ่งใหม่ – ยิ่งดี)
รู้หรือไม่ ? หน้า Homepage เป็นหน้าที่มี authority กับ Google อย่างมาก แต่เชื่อหรือไม่ว่า Google มักไม่แสดงหน้าแรกให้ผู้ค้นหา (เพราะหน้าแรกมักจะไม่มีเนื้อหาเฉพาะที่ตรงกับความต้องการผู้ค้นหา) ดังนั้นคุณควรปรับหน้าแรกเพื่อการทำ Brand และเชื่อเชิญลูกค้าไปยังหน้าสินค้าให้ได้รวดเร็วที่สุด

26.มีการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหา/บทความ
การเพิ่มหรือลบทั้งย่อหน้าจะมีผลมากกว่าเปลี่ยนแค่บางคำ

27.ความถี่ในการแก้ไขเนื้อหา/บทความ (ยิ่งถี่ – ยิ่งดี)

28.มี keyword อยู่ใน 100 คำแรกของหน้า

29.มี keyword ใน H2, H3 Tag

30.การเรียงคำ ตรงกับ keyword
คำว่า “วิธีเปิดร้านค้าออนไลน์อย่างไร” และ “เปิดร้านค้าออนไลน์มีวิธีอย่างไร” นั้นต่างกัน ดังนั้นคุณควรรู้ว่าลูกค้าค้นหาด้วยคำอะไรKeyword Planner
รู้หรือไม่ ?การค้นหา keyword ผ่าน Google เช่น พิมพ์ keyword ใน Google แล้วดูจากที่คำแนะนำ (พิมพ์แล้วยังไม่ enter) อาจได้ผลลัพธ์ดีกว่าการค้นหาคำผ่าน Keyword Planner เพราะจะได้ประโยคที่ผู้ใช้ค้นหาจริงๆ มากกว่าที่จะเป็นการหาเป็น คำๆ (ผู้ค้นหาภาษาไทยไม่ได้ค้นหาด้วยคำๆเว้นวรรค แต่ค้นหาแบบเป็นประโยค) หรือคุณจะหา keyword ได้จากแหล่งอื่นๆที่น่าสนใจดังนี้
1. หา keywords จากการแนะนำจากเว็บ Amazon และ Ebay (พิมพ์ในช่องค้นหา และรอคำที่เว็บแนะนำ)
2. หา keywords จากสารบัญในหนังสือบน Amazon
3. หา keywords จาก wikipedia
4. ดูแนวโน้มการใช้คำ keywords ที่ Google Trend

31.มี Link ออกไปยังเว็บที่มีคุณภาพ

32.เนื้อหาของของเว็บที่ Link วิ่งออกไป
เช่น เว็บคุณเกี่ยวกับเสื้อผ้า แต่มีลิงก์ออกไปยังเว็บตุ๊กตา Google จะมองว่าเว็บคุณมีแนวโน้มเป็น เสื้อผ้าของตุ๊กตา

33.การสะกดคำที่ถูกต้องและถูกไวยกรณ์

34.เป็นเนื้อหา/บทความที่เขียนขึ้นเองใหม่ (ไม่ได้คัดลอกมา)
หากคุณมีการคัดลอกมา ควรใส่เนื้อหาเพิ่มหัว-ท้าย และมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาด้วย

35.มีเนื้อหาที่มีคุณภาพ
รู้หรือไม่ ? มีวิธีง่ายๆที่ทำให้เนื้อหา/บทความของหน้าเพจมีคุณภาพ 1. มีคำมากกว่า 1,000 คำ 2. มีรูปภาพ, infographic, วิดีโอประกอบ 3. ทำเป็นหัวข้อและลิสต์รายการ

36.จำนวน Link ออก (มาก – ไม่ดี)
การใส่ nofollow=’nofollow’ ก็สามารถบอก Google ไม่ให้กับลิงก์นี้ได้

37.มีรูปภาพ วิดีโอ และมัลติมีเดียอื่นๆ
คุณสามารถใส่วิดีโอในหน้าร้านค้าได้ดังนี้ ดูวิธีการใส่วิดีโอจาก youtube
รู้หรือไม่ ? เว็บที่ติดอันดับ 1-10 ของ Google จะมีรูปภาพในเว็บ (ที่เกี่ยวกับเนื้อหา) อย่างน้อย 1 รูปเสมอ และยิ่งมีรูปและวิดีโอมากเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้ผู้เข้าชมอยู่กับเว็บนานขึ้น

38.มี Link ภายในเว็บที่วิ่งเข้ามาหาหน้านั้น
ยิ่งมีมากยิ่งหมายถึงหน้านั้นมีความสำคัญ เช่น หน้าแรกจะมีผู้ลิงก์เข้ามากที่สุด

39.คุณภาพของเนื้อหาของหน้าที่มีลิงก์ภายในวิ่งเข้ามา
รู้หรือไม่ ? การใส่ Internal Link หรือลิงก์ภายในเว็บไซต์ เป็นการทำ SEO ที่ง่ายและได้ผลดีมาก เช่น การมี Link จากหน้าที่ติดอันับได้ดีไปยังหน้าที่เราต้องการดันอันดับ

40.ไม่ควรมีลิงก์เสีย (ลิงก์ไปยังหน้าที่ไม่มีอยู่จริง)

41.มีความง่ายในการอ่าน
ใส่หัวข้อ, ทำเป็นย่อหน้า (ย่อหน้าละไม่เกิน 2-4 ประโยค), ใช้ขนาดอักษรไม่ต่ำกว่า 14px, เว้นบรรทัด และเว้นช่องว่างระหว่างแต่ละย่อหน้าให้มากเข้าไว้

42.ไม่ควรมี Link ที่เป็น Affiliate มากเกินไป
ลิงก์ affiliate หมายถึงลิงก์ที่มีการนำพาไปอีกเว็บหนึ่งแล้ว เจ้าของเว็บที่ใส่ลิงก์นั้นจะได้ผลประโยชน์กลับจากเว็บที่วิ่งไปหา (ค่านายหน้า)

43.ไม่ควรมี HTML error
รู้หรือไม่ ? คุณสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ของคุณได้จาก Google Search Console

44.มีโดเมนที่น่าเชื่อถือ (Domain Authority – DA)

45.มีค่า Page Rank (PR) สูง
PR สูงเกิดจากมีลิงก์เข้ามาเป็นจำนวนมาก, แต่ละหน้ามีค่า PR ไม่เท่ากัน

46.URL ไม่ควรยาวจนเกินไป

47.URL ยิ่งใกล้โดเมนยิ่งดี
เช่น ponsomwang.com/store จะได้คะแนนส่วนนี้มากกว่า ponsomwang.com/store/gointer

48.เนื้อหาเขียนด้วยคน (ไม่ใช้โปรแกรมอัตโนมัติ)

49.ความเกี่ยวข้องกันกับหน้าหมวดหมู่
เช่น “เสื้อผ้า” ในหน้าสินค้าที่อยู่ในหมวดหมู่ “เสื้อผ้า” จะดีกว่า ในหน้าสินค้าที่อยู่ในหมวดหมู่ “รองเท้า”

50.Tag หรือป้ายกำกับ จะส่งผลดี (แต่ไม่ควรมีมากเกินไป)
รู้หรือไม่ ? คุณสามารถใส่ Tag ได้ในสินค้าทุกชิ้น ซึ่งจะช่วยทำให้คุณสามารถจัดหมวดหมู่ได้อย่างอิสระ , บทความหน้าร้าน (Aritcle) ก็สามารถใส่ Tag ได้เช่นกัน

51.มี keywords ใน URL

52.URL ที่สามารถอ่านได้ และมีลำดับชั้น

53.มี Reference และที่มา (หากมี)

54.ใช้ bullet หรือ ลำดับรายการ

55.ลำดับความสำคัญใน Sitemap

56.หากมีลิงก์ออกมากจะถูกหาว่า Spam

57.มี PR ของคำต่างๆ หลายคำในหน้านั้น
พูดง่ายๆคือ หน้านั้นมีการติดอันดับที่ดีในหลายๆ คำ แปลว่า หน้านั้นยิ่งมีคุณภาพ

58.อายุของหน้านั้นๆ
หน้าใหม่ดีกว่าหน้าเก่า แต่หน้าเก่าที่อัพเดทใหม่ดีกว่าหน้าใหม่ (การอัพเดทนั้นหมายถึงการเพิ่มเนื้อหาอย่างน้อย 1 ย่อหน้า)

59.มีการจัดวางเนื้อหาเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน

60.ไม่ใช่โดเมนที่ว่างอยู่ (Parked Domain)

61.เนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับผู้เข้าชม
เนื้อหาที่มีคุณภาพ อาจไม่มีประโยชน์กับผู้เข้าชมก็ได้ ดังนั้นต้องทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกว่ามีประโยชน์มากที่สุด
รู้หรือไม่ ? คุณสามารถสร้างเนื้อหาที่มีประโยชน์ได้จากการทำหน้าเนื้อหา “… คืออะไร”, “… ใช้ยังไง”, “วิธี …” เป็นต้น

ปัจจัยเกี่ยวกับเว็บไซต์ (Site-Level)นอกจากหน้าต่างๆ ที่มีคะแนนแตกต่างกันแล้ว ภาพรวมของเว็บไซต์ก็เป็นอีกปัจจัยหลักที่จะช่วยเพิ่มคะแนนแต่ละหน้าได้

62.มีเนื้อหาที่มีคุณค่าและแตกต่าง
Google พยายามหลีกเลี่ยงการให้อันดับกับเว็บไซต์ Affiliate (ที่มักจะเหมือนๆกันและไม่มีคุณค่ากับผู้เข้าชม)
รู้หรือไม่ ? พยายามลบหน้าเว็บที่มีเนื้อหาพื้นๆ ออกไป และสร้างหน้าเว็บที่มีข้อมูลเชิงลึกและมีประโยชน์กับผู้เช้าชมแทน

63.มีหน้าสำหรับติดต่อ (หน้าติดต่อเรา)

64.มี Domain Trust / TrustRank สูง
คิดจากอีกหลายปัจจัย โดยเน้นที่การมี link จากเว็บที่มีคุณภาพสูงจำนวนมากเช็ค TrustRank

65.มีโครงสร้าง HTML ของเว็บที่ดี

66.มีการปรับปรุงแก้ไขเว็บอยู่เสมอ

67.มีจำนวนหน้าเว็บเยอะพอสมควรดูหน้าที่ Google รู้จักแล้ว
จำนวนหน้าเว็บที่เยอะ เป็นสัญญาณเล็กๆ ให้กับ Google ได้ว่าเว็บไซต์นี้มีคุณภาพ
รู้หรือไม่ ? การมีหน้าเว็บเพจเยอะๆ อาจไม่ดีเสมอไป หากคุณเห็นว่ามีหน้าบางหน้าที่ไม่มีคนเข้าเลย ให้ลบหน้าเหล่านั้น และนำมารวมกันเป็นหน้ารวมเนื้อหาทั้งหมดในหน้าเดียวกันจะดีกว่า //เชื่อหรือไม่ ? เว็บ e-commerce บางเว็บ ลบสินค้าที่ไม่มีผู้ซื้อออกไปกว่า 1,000 รายการ และทำให้ SEO ดีขึ้น ซึ่งนั่นแปลว่าลูกค้าก็จะเยอะขึ้นด้วย

68.มี Sitemap ของเว็บดู Sitemap.xml

69.เว็บมี Uptime สูง
สำหรับร้านค้า business หากเซิฟเวอร์เครื่องที่ร้านค้ามีข้อมูลอยู่เกิดข้อผิดพลาดก็จะสามารถกลับมาใช้ได้รวดเร็วกว่า ร้านค้าอื่นๆ ในเครื่องนั้นสั่งซื้อ Business Class

70.ที่ตั้งเซิฟเวอร์ หากค้นหาคำไทย ที่ตั้งในไทยจะดีกว่า
มีการใช้งาน SSL (https://)
Google ให้ความสำคัญกับผู้ที

71.มีการใช้งาน SSL (https://)
Google ให้ความสำคัญกับผู้ที่ใช้งาน SSL เข้ารหัสข้อมูลในการรับ-ส่งข้อมูลสั่งซื้อ SSL
รู้หรือไม่ ? Google นั้นได้ใช้ HTTPS เป็นอีกหนึ่งปัจจัยของการจัดอันดับ Google ตั้งแต่ปีที่แล้ว และมีผลมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงตอนนี้กว่า 27% ของอันดับ 1 เป็น Https

 

72.มีหน้าข้อตกลงการใช้งาน และนโยบายความเป็นส่วนตัว

73.ข้อมูลใน Meta Tag ต้องไม่ซ้ำกัน

74.มีเมนูแบบ Breadcrumb

75.รองรับกับอุปกรณ์มือถือ (Mobile Site)
นอกเหนือจากการแสดงผลจะเหมาะกับหน้าจอที่เล็กกว่าแล้วยังเป็นมิตรต่อผู้เข้าชมทั้งด้านการใช้งานที่ง่ายและเร็วกว่าการโหลดแบบหน้าเว็บตั้งค่า Mobile Site
รู้หรือไม่ ? เว็บที่รองรับกับอุปกรณ์มือถือจะได้แสดงป้าย “Mobile-friendly” กำกับที่หน้า SERP ด้วย

76.ใช้ Youtube ในการอัพโหลดวิดีโอ
แน่นอนว่า Google คือเจ้าของ Youtube ย่อมให้คะแนนผู้ที่ใช้ youtube มากกว่า

77.การใช้งานเว็บที่ง่าย
มีหลายปัจจัยในการคำนวน เช่น อัตราการเด้งออกมีสูง ไม่มีการเข้าถึงหน้าอื่นๆต่อ อาจแปลได้ว่าใช้งานยาก

78.ใช้ Google Analytic และ Google Webmaster Tools
เนื่องจากเว็บที่เป็น spam และทำผิดกฏมักไม่ใช้บริการเหล่านี้ตั้งค่า Google Analytic

79.มีการรีวิวจากผู้ใช้งานบนเว็บรีวิวที่มีชื่อเสียง
เช่น Yelp.com, Tripadvisor.com เป็นต้น
รู้หรือไม่ ? คุณสามารถดูหน้ายอดนิยมที่มีคนเข้ามากที่สุดในเว็บได้จากสถิติของร้านค้า ดูหน้าเว็บยอดนิยม

ปัจจัยเกี่ยวกับลิงก์กลับ (Backlink)หาก Content is King, Link ก็จะเป็น Queen ซึ่ง Link ในที่นี้คือ BackLink หมายถึง ลิงก์ที่มาจากเว็บอื่นๆ ที่พูดถึงเว็บของเรา

80.มีลิงก์มาจากเว็บที่มีอายุนาน

81.จำนวนลิงก์ที่มาจากหน้าหลักของเว็บ
หมายถึง การมีลิงก์ที่มาจากหน้าหลักของเว็บนั้น ดีกว่าลิงก์ที่มาจากหน้าย่อยในเว็บนั้นนั่นเอง

82.มีลิงก์มาจากเว็บที่มีที่ตั้งเซิฟเวอร์และ IP ต่างกัน

83.จำนวนลิงก์ที่วิ่งเข้ามา
รู้หรือไม่ ? วิธีการหาเว็บที่ไว้สร้างลิงก์กลับที่ดี คือ หาลิงก์ที่วิ่งไปหาเว็บที่ได้อันดับ 1-3 ของ Google ใน keyword ที่ต้องการ โดยใช้คำสั่ง link: ตามด้วยชื่อโดเมน ในช่องค้นหาของ Google (คำสั่ง Link: จะเห็นได้เฉพาะบาง Link กลับที่มีคุณภาพเท่านั้น ไม่สามารถเห็น Link ทั้งหมดที่กลับมาได้)

84.Alt text ของรูปที่มีลิงก์กลับ

85.มีลิงก์มาจากเว็บที่เป็นโดเมน .edu, .gov, .go.th, .ac.th

86.PageRank (PR) ของเว็บที่มีลิงก์กลับ
พยายามเน้นสร้างลิงก์กลับจากเว็บที่มีคุณภาพมากกว่าการหาลิงก์ปริมาณมากๆ แต่มาจากเว็บที่มีแต่บอทเข้า ไม่มีคนเข้าชมเช็คค่า PR เว็บอื่น

87.Domain Authority (DR) ของเว็บที่มีลิงก์กลับเช็คค่า DA เว็บอื่น

88.มีลิงก์จากเว็บที่เป็นคู่แข่ง
เว็บคู่แข่ง หมายถึง เว็บที่มีผลการค้นหาใกล้เคียงกันในคำนั้นๆดูเว็บคู่แข่ง

89.มีการแชร์บน Social (Post แบบมีลิงก์กลับ)

90.ห้ามมีลิงก์ที่มาจากเว็บต้องห้ามต่างๆ
เว็บโป๊ เว็บการพนัน เว็บผิดศีลธรรม หรือเว็บที่ทำผิดกฏของ Google

91.ลิงก์ที่มาจาก Guest Post ได้คะแนนน้อย
เช่น Link ที่มาจาก Comment บน WordPress Blog เป็นต้น

92.มีลิงก์ไปยังหน้าหลักของโดเมนที่มีลิงก์กลับมาหา
เช่น เรามีลิงก์กลับไปยังเว็บข่าว เพื่อบ่งบอกว่าเว็บของเราถูกพูดถึงจากที่นั่น เป็นต้น

93.ได้ Nofollow Links ก็ยังดีกว่าไม่มีลิงก์กลับ
แม้ว่าเว็บที่ลิงก์มาจะใส่ nofollow เพื่อไม่ให้คะแนน แต่ความเป็นจริงเราจะได้คะแนนทางอ้อม

94.มีความหลากหลายของเว็บที่มีลิงก์กลับ
โดยปกติ หากเรามีลิงก์หลายลิงก์จากเว็บเดียวกันมากๆ อาจถูกมองว่าเป็นการสแปมได้ ดังนั้นเราควรมีลิงก์จากหลายๆ เว็บมากกว่า

95.ลิงก์กลับที่มีคำใกล้ๆ อย่างเช่น ผู้สนับสนุน จะได้คะแนนน้อย

96.ลิงก์กลับนั้นอยู่ในเนื้อหา ดีกว่าลิงก์ที่อยู่นอกเนื้อหา

97.ไม่ควรมีลิงก์กลับที่มาแบบหลอกที่มา
เช่น การที่ให้ผู้ค้นหาคลิกลิงก์ที่ต้องการแต่มีการเปลี่ยนแปลง URL (redirect) มายังอีกที่หนึ่ง

98.ข้อความในลิงก์กลับ (ที่มาจากเว็บอื่น)
Google บอกว่า ข้อความที่อยู่ในลิงก์กลับนั้นบ่งบอกถึงเว็บได้มากกว่าข้อความบนเว็บเองด้วยซ้ำ (พูดง่ายๆ คือ เชื่อคนอื่นมากกว่า)
รู้หรือไม่ ? การใส่ข้อความใน Link ที่ดีคือควรเป็นวลี หรือ ประโยค มากกว่าการครอบลิงก์ที่ keyword โดดๆ เช่น หากคุณสนใจ เปิดเว็บขายของ คุณควรเข้าใจ SEO ในเบื้องต้นก่อน เป็นต้น

99.ข้อความในลิงก์กลับ (ที่มาจากในเว็บตนเอง)

100.ข้อความใน Title ของลิงก์
title คือข้อความที่จะแสดงขึ้นเมื่อนำเมาส์ไปวางที่ลิงก์

101.ลิงก์กลับมาจากเว็บ .th
เช่น .co.th, .in.th, .go.th, .ac.th จะทำให้ติดอันดับได้ดีในประเทศไทย

102.ลิงก์กลับอยู่ในส่วนเนื้อหา ไม่ควรอยู่โดดๆ

103.ลิงก์กลับอยู่ในส่วนต้นของหน้า

104.ลิงก์กลับจากโดเมนที่เกี่ยวข้องกัน (ยิ่งเฉพาะมาก ยิ่งดี)

105.ลิงก์กลับจากหน้าที่เกี่ยวข้องกัน (ยิ่งเกี่ยวกัน ยิ่งดี)

106.ข้อความรอบๆ ลิงก์กลับควรเป็นคำชม
Google จะทราบว่าข้อความที่มีลิงก์ที่เขียนถึงคุณ เป็นไปในทางชม (+) หรือ ตำหนิ (-)

107.มี keyword ใน Title ของลิงก์กลับ

108.มีจำนวนเว็บที่มีลิงก์กลับมากขึ้นเรื่อยๆ

109.ไม่ควรมีจำนวนเว็บที่มีลิงก์กลับน้อยลง
เพราะปกติอย่างน้อยต้องเท่าเดิม หากน้อยลงแปลว่ามีการถอดลิงก์คุณออกจากหน้านั้นๆ

110.มีลิงก์จาก Hub ที่น่าเชื่อถือ
เว็บ Hub หมายถึงเว็บที่เป็นเว็บรวมลิงก์ไปยังเว็บอื่นๆ (Directory) เช่น dmoz.org, yahoo directory เป็นต้น

111.มีลิงก์จากเว็บที่ได้รับรองจาก Google
แม้เราจะไม่ทราบได้ว่าเว็บไหนถือเป็นเว็บ Authority Site แต่การที่เรามีเว็บจากเว็บชื่อดังอย่าง Pantip ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีเช่นกัน

112.มีลิงก์จาก Wikipedia

113.ข้อความที่ติดกันเลยกับข้อความลิงก์กลับ
ไม่เพียงแต่ข้อความรอบๆ Link แต่ข้อความที่ติดกันเลยจะยิ่งบ่งบอกได้ว่าเว็บคุณเกี่ยวกับอะไร

114.อายุของลิงก์กลับ (ลิงก์ที่มีอายุเยอะจะให้คะแนนที่ดีกว่า)

115.มีลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์จริงๆ (ไม่ใช่เว็บบล็อกเพื่อ SEO)
Google จะใช้ปัจจัยด้านการโต้ตอบกับผู้ใช้งาน เช่น มีคนเข้าชมไหม เข้านานไหม อ่านต่อหน้าอื่นไหม มาตัดสินว่าเว็บไหนเป็นเว็บหลอกเพื่อ SEO

116.ลิงก์ที่มาจากหน้า Profile
เว็บเครือข่ายสังคมต่างๆ มักจะมีหน้า Profile และมีส่วนที่ใส่ Link กลับได้

117.ไม่ควรแลกลิงก์กันมากเกินไป
Google ห้ามไม่ให้มีการซื้อ-ขายลิงก์ และมีการแลกลิงก์กันมากเกินไป (เกิน 20-30 เว็บ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน) อ่านเพิ่มเติมบน Google

118.มีลิงก์กลับที่เขียนขึ้นจากเจ้าของเว็บเอง
Google สามารถแยกแยะได้ว่า Link ใดที่เกิดจากเจ้าของเว็บสร้างขึ้นเอง หรือ มาจากผู้ใช้งานเว็บนั้นสร้างขึ้น

119.ลิงก์กลับมาจากการ 301 Redirect
หลายกูรู SEO บอกว่าหากมาจาก 301 redirect (การส่งผ่านลิงก์แบบถาวร) จะได้คะแนนน้อยกว่า แต่ทาง Google บอกว่าจะได้คะแนนเช่นเดียวกับ direct link (ลิงก์โดยตรงไม่มีการส่งผ่าน)

120.Rich Snippets หรือบทสรุปเนื้อหาเว็บ

121.มีลิงก์กลับจาก Dmoz.org

122.มีลิงก์กลับเว็บที่มี TrustRank สูง
เพราะนอกจาก Page Rank แล้ว Google ยังให้อันดับความน่าเชื่อถือให้กับแต่ละเว็บด้วยเช็ค TrustRank เว็บอื่น

123.มีลิงก์กลับจากหน้าที่มีจำนวนลิงก์ออกน้อย
ยิ่งหน้าที่มีลิงก์กลับ มีลิงก์ออกเยอะ (Outbound Links) นั่นทำให้คะแนนที่ได้จากหน้านั้นก็ต้องหารกันนั่นเอง

124.ลิงก์ที่มาจากเว็บบอร์ดหรือฟอรั่ม
Google จะให้คุณค่าของลิงก์ที่มาจาก Forum หรือ Webboard น้อย

125.มีลิงก์กลับจากหน้าที่มีจำนวนคำมากๆ
แน่นอนว่าลิงก์ที่อยู่บนหน้าที่มีคำเป็น 1,000 คำ ดีกว่าลิงก์ที่อยู่บนหน้าที่มีคำเพียงไม่กี่คำ

126.มีลิงก์กลับจากหน้าที่มีเนื้อหาที่มีคุณภาพ
ลิงก์กลับที่เหมือนกันทุกหน้าจะถูกนับเป็นลิงก์เดียว
รู้หรือไม่ ? คุณสามารถดูได้ว่ามีการเข้าชมกี่ครั้งที่มาจากการคลิกลิงก์กลับ และมาจากเว็บอื่นๆ (เรียกว่า Referring Site) เว็บไหนบ้าง ดูไซต์อ้างอิง

ปัจจัยเกี่ยวกับผู้เข้าชม (User-Interaction)Google ไม่ได้เพียงแต่วัดปัจจัยที่เกี่ยวกับเนื้อหาเว็บไซต์เท่านั้น แต่ยังใช้ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ของเราด้วย

128.อัตราการคลิกจากผลการค้นหาสูง (Click Through Rate – CTR)
ยิ่งเว็บของคุณได้ถูกคลิกจากส่วน Organic (ส่วนที่ต้องทำ SEO เท่านั้น) มากเท่าไหร่ยิ่งดี นั่นหมายถึงเว็บของคุณตรงกับคำค้นหานั้นๆดูคำค้นหา

129.มี CTR สูงทุก keyword

130.Bounce Rate ต่ำ
Bounce Rate หรือ อัตราการเด้งกลับ หมายถึงการที่ผู้เข้าชมเข้ามาแล้วออกอย่างรวดเร็ว (นั่นแปลว่า เนื้อหาไม่ดีหรือไม่ตรงนั่นเอง)ดู Bounce Rate
รู้หรือไม่ ? คนบนโลกอินเทอร์เน็ตนั้นมีความอดทดน้อยขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นหากไม่ต้องการให้พวกเค้าออกจากเว็บของเรา ลองทำดังต่อไปนี้
1. พยายามนำเนื้อหาไว้บนสุดของหน้า ไม่ใส่รูปใหญ่ๆ สวยๆ มาก่อนเนื้อหา โดยไม่มีประโยชน์กับผู้เช้าชม
2. พยายามอัพเดทเว็บไซต์และเขียนไว้ที่หน้าว่า “อัพเดทล่าสุด” เมื่อใด (หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “เขียนครั้งแรกเมื่อ”)
3. เขียนเกริ่นให้สั้นไม่เกิน 4-9 ประโยค และใช้คำที่เชิญชวน ตื่นเต้น ควรใช้คำพูดแทนคำเขียน

131.Direct Traffic สูง
Direct Traffic หรือ การเข้าชมโดยตรง หมายถึงการที่ผู้เข้าชมพิมพ์ URL ร้านค้าของเราโดยตรง (ไม่ได้ผ่าน Google หรือคลิกจากเว็บอื่นนั่นเอง)ดู Direct Traffic

132.มีอัตราการกลับมาอีกครั้งสูง
หมายถึง เมื่อผู้เข้าชมคนนั้นได้ออกจากเว็บแล้ว อีกระยะเวลาหนึ่งได้กลับเข้ามาที่เว็บอีกครั้ง

133.ไม่เป็นเว็บที่โดนผู้ใช้งาน Block
แม้ว่าฟังก์ชั่น Block ได้ถูกถอดออกจากหน้า SERP แล้ว (ฟังก์ชั่นที่ให้ผู้ค้นหาสามารถนำเว็บหนึ่งๆ ออกจาก SERP ของเค้าได้) แต่ Google ก็ยังใช้ปัจจัยนี้กับเว็บที่เคยโดนอยู่

134.มีผู้ Bookmarks เว็บเราจำนวนมาก
Google ได้เก็บข้อมูล Bookmark ในเบราวเซอร์ Chrome ของผู้ใช้งานทุกคน ดังนั้นหากเว็บคุณได้ถูก Bookmark (กดที่รูปดาว) ยิ่งดีต่อร้านคุณ

135.เข้าเว็บด้วย Google Chrome
เนื่องจาก Google สามารถเก็บข้อมูลได้ง่ายกว่า หากคุณไม่ได้ใช้ Google Chrome อาจใช้ Google Toolbar ติดตั้งบนเบราวเซอร์ก็ได้เช่นกัน

136.มี Comments จำนวนมาก

137.ผู้เข้าชมเข้าเว็บเป็นเวลานาน
Google ให้ความสำคัญมากกับระยะเวลาที่ที่ผู้เข้าชมอยู่ภายในเว็บของคุณ (เรียกกันทาง SEO ว่า Long Clicks)ดูเวลาเช้าชมโดยเฉี่ย
รู้หรือไม่ ? คุณสามารถเพิ่มระยะเวลาและดึงดูดผู้เช้าชมให้อยู่กับเว็บได้นานได้ง่ายๆ เพียงแค่เพิ่มคำถาม,คำเชิญชวนเหล่านี้เข้าไปในเนื้อหา/บทความ เช่น แล้วสรุปต้องทำอย่างไร ?, มาดูกันเลย !, และนี่คือผลลัพธ์, แต่ยังไม่หมดเท่านี้, เรื่องจริงๆ แล้วคือ, ส่วนที่ดีที่สุดหรอ ?, แล้วนี่มันหมายถึงอย่างไร ?, มันเกียวยังไงกัน ?, ฉันจะใช้มันได้อย่างไร ? เป็นต้น

ปัจจัยพิเศษต่างๆ (Special Rules)ยังมีปัจจัยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเราอีกมากมาย

138.หน้าเพจที่เพิ่งเกิดใหม่จะดีกว่าเสมอ

139.หาก keyword กำกวม Google จะแสดงให้หลากหลายมากที่สุด

140.เว็บถูกเข้าจาก “ประวัติการเข้าชม”
เฉพาะผู้ที่เข้าสู่ระบบ Google Account (@gmail.com) เว็บที่เคยเข้าแล้วจะได้อันดับที่ดีกว่าในการค้นหาของเค้า

141.ประวัติการค้นหาก่อนหน้า
เช่น หากผู้ใช้ค้นหาคำว่า “รีวิว” แล้วมาค้นหาคำว่า “ชุดเกาหลี” Google จะแสดงผลเว็บที่มีการรีวิวชุดเกาหลีดีกว่าเว็บอื่น
Geo Targeting (ตำแหน่งที่อยู่)
หากผู้ค้นหาอยู่ในไทย เว็บที่มีเซิฟเวอร์ในไทยและมีโดเมน .th จะได้รับผลลัพธ์ที่ดีกว่า

143.Safe Search (การค้นหาแบบปลอดภัย)
เว็บที่มีคำที่รุนแรงหรือคำที่เป็นเนื้อหาแบบผู้ใหญ่จะถูกกรองออก หากผู้ใช้เปิดโหมด Safe Search

144.Google+ (Social Network ของ Google)
Google จะดันเว็บที่มีผู้เขียนหรือชื่อเว็บไซต์อยู่ใน Circle ของ Google+สร้าง Google+

145.ต้องไม่มีคำร้องเรียน DMCA
DMCA คือ Digital Millennium Copyright Act คือ กฏหมายจัดการกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ตของสหรัฐฯ

146.กฏความหลากหลายของเว็บ
Google จะแสดงผลการค้นหาให้ได้หลากหลายเว็บมากที่สุด แม้เว็บหนึ่งจะมีหน้าที่ควรติดอันดับหน้าแรกทั้งหมดก็ตาม Google จะแสดงเพียง 2-3 หน้า และให้โอกาสเว็บอื่นเสมอ

147.การค้นหาที่เกี่ยวกับการซื้อ-ขาย
บางครั้ง Google จะพยายามแสดงเว็บที่มีสินค้าซื้อ-ขายที่มี keyword นั้นๆ มากกว่าเว็บเนื้อหาปกติ

148.การค้นหาตามท้องถิ่น
Google มักให้ผลลัพธ์การค้นหาที่เว็บนั้นมีการปักหมุดสถานที่บน Google+ ที่อยู่ใกล้กับสถานที่ของผู้ค้นหาตอนนั้น

149.Google จะแสดงผลเป็นแบบ News หากเป็นหน้าใหม่

150.Brand ชื่อดังจะติดอันดับได้ดีในคำกว้างๆ

151.Google บางครั้งจะแสดงผลเป็นรูปแบบ Shopping
โดย Google จะเอาสินค้ามาจาก Google Shopping (เสียค่าโฆษณา)

152.Google มักแสดงผลเป็นรูปแบบ Image
Google จะรู้จักรูปนั้นได้จากการใส่ Alt textใส่ Alt ให้ภาพ

153.Easter Egg (ของเล่นลับของ Google)
Google มักออกลูกเล่นหรือเกมเล็กๆให้กับ Search Engine ของพวกเค้าเสมอ ลองค้นหาด้วยคำเหล่านี้ดู (หรือคลิกที่คำเพื่อดูได้ทันที)
askew, blink html, conway’s game of life, z or r twice, festivus, google in 1998, super mario bros, zerg rush, atari breakout

154.หนึ่งโดเมนสามารถครองได้ทั้งหน้า SERP ถ้าคำตรงกับชื่อ Brand โดยตรง

ปัจจัยเกี่ยวกับ Socialปฏิเสธไม่ได้ว่า Social นั้นมีอิทธิพลกับผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ดังนั้น Google จึงนำมาเป็นปัจจัยการจัดอันดับด้วย

155.มีจำนวน Tweet (Twitter) ของหน้านั้นเยอะตกแต่งหน้าร้าเพื่อเพิ่มปุ่ม Tweet

156.ยิ่งคน Tweet มี Follower เยอะ ยิ่งดี

157.มีจำนวน Like (Facebook) ของหน้านั้นเยอะตกแต่งหน้าร้าเพื่อเพิ่มปุ่ม Like

158.มีจำนวน Share (Facebook) ของหน้านั้นเยอะ
มีผลมากกว่า จำนวน Likeตกแต่งหน้าร้านเพื่อเพิ่มปุ่ม Share

159.ยิ่งคนที่แชร์มี follower เยอะ / หรือแฟนเพจที่แชร์มี Like เยอะ ยิ่งดี
รู้หรือไม่ ? การเพิ่มปุ่มแชร์ที่หน้าร้าน จะทำให้ผู้เข้าชมสามารถแชร์ได้ง่ายและสะดวก และนั่นดีต่อ SEO ของร้านคุณ

160.มีจำนวน Pin (Pinterest) ของหน้านั้นเยอะ
Pinterest เป็น Social Media ที่นิยมอย่างมากในการเก็บภาพจากเว็บไซต์เป็น Collection แชร์ให้ผู้อื่น

161.มีจำนวน Vote (บนเว็บ Social Sharing) ของหน้านั้นเยอะ
ตัวอย่างเว็บ Social Sharing เช่น Reddit, Stumbleupon, Digg เป็นต้น

162.มีจำนวน +1 (Google+) ของหน้านั้นเยอะ

163.ยิ่งคนที่ +1 มี Circle ที่มีผู้ติดตามมากยิ่งดี

164.ข้อความของโพสท์ที่แชร์

165.ถ้าเว็บมีผลคะแนนที่ดีด้าน Social ทุกหน้าที่อยู่ในเว็บจะได้รับผลดีด้วย

ปัจจัยเกี่ยวกับชื่อ BrandGoogle ชอบเว็บที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และมักจะให้คะแนน Brand มากกว่าเว็บทั่วไปหลายเท่า

166.มีชื่อแบรนด์ในลิงก์

167.มีผู้ค้นหาชื่อแบรนด์ของคุณ
เช่น หากคุณสนใจเรื่อง iphone คุณอาจค้นหาคำว่า iphone pantip ซึ่งนั่นจะเพิ่มคะแนนที่ดีให้กับเว็บไซต์ pantip.com

168.เว็บไซต์มี Facebook Page เป็นของตนเอง
แต่ Facebook Page ของคุณต้องมีจำนวนผู้ Like ถึงระดับหนึ่งด้วยตั้งค่า Facebook Page

169.เว็บไซต์มี Twitter Profile เป็นของตนเอง
แต่ Twitter Profile ของคุณต้องมีจำนวนผู้ follower ถึงระดับหนึ่งด้วยตั้งค่า Twitter Profile

170.เว็บไซต์มีหน้าเพจบน LinkedIn
บริษัทแบรนด์ดังมักมีข้อมูลอยู่ใน LinkedIn ที่เป็นเว็บเครือข่ายสังคมที่ให้ข้อมูลด้านการทำงานของบุคคลและบริษัทดู Linked in

171.พนักงานบริษัทมีข้อมูลบน LinkedIn

172.มีการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของบัญชีและผู้ติดตาม
แน่นอนว่าหากคุณซื้อ Like หรือ Follow ก็จะไม่สามารถเพิ่มคะแนนให้กับคุณ เพราะ Google จะดูถึงการโต้ตอบของเพจหรือจำนวน Post ของคุณ

173.ชื่อแบรนด์ถูกเอ่ยถึงในเว็บไซต์ข่าวชื่อดัง
เช่น Sanook, Kapook, Thairath, Manager, NationTV, Mthaiม Posttoday เป็นต้น

174.แม้ถูกเอ่ยถึง ไม่จำเป็นต้องลิงก์ก็ได้เช่นกัน
หลายๆ คนเข้าใจว่า เราจะได้คะแนนก็ต่อเมื่อต้องมี Link มายังเว็บไซต์ของร้าน แต่ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น แค่มีการเขียนชื่อแบรนด์ลงไปก็ได้เช่นกัน

175.มีจำนวนผู้ติดตาม RSS
เนื่องจากขณะนี้ RSS ไม่ได้เป็นที่นิยมแล้ว ปัจจัยในการคิดส่วนนี้จึงถูกลดลงอย่างมาก

176.ปักหมุดสถานที่ร้านค้าบน Google Businessเพิ่มสถานที่บน Google Business

177.เว็บไซต์ได้จ่ายภาษีอย่างถูกต้องหรือไม่
ในประเทศไทย Google อาจจะไม่ได้นำปัจจัยนี้มาคิด

ปัจจัยเกี่ยวกับการ Spam บนเว็บGoogle จะหักคะแนนหรือนำเว็บของคุณออกจาก SERP หากคุณทำการ Spam บนเว็บไซต์คุณเอง

178.ไม่เป็นเว็บที่มีเนื้อหาคุณภาพต่ำ

179.ไม่มีลิงก์ไปยังเว็บคุณภาพต่ำ

180.ไม่มีการ Redirect หลอกไปเว็บอื่น

181.ไม่มี Popup หรือ Ad บังหน้าเว็บ

182.ไม่ควรทำ SEO มากเกินไปกับเว็บ
เช่น การใส่ Keyword ซ้ำไปซ้ำมาในหน้าเว็บ

183.ไม่ควรทำ SEO มากเกินไปกับหน้าหนึ่งๆ

184.ไม่มี Ad ที่ลอยบังหน้าเว็บตลอดเวลา

185.ไม่ปกปิด Affiliate Link

186.ไม่เป็นเว็บที่ทำเพื่อ Affiliate

187.ไม่ใช้โปรแกรมเขียนเนื้อหาอัตโนมัติ

188.ไม่ควรใช้ nofollow ทุกลิงก์ที่ออก หรือมีลิงก์ภายในมากเกินไป

189.IP Address ของเว็บไม่ถูกคาดโทษ

190.ไม่ควร Spam ใน Meta Tag

ปัจจัยเกี่ยวกับการ Spam นอกเว็บ Google จะหักคะแนนหรือนำเว็บของคุณออกจาก SERP หากคุณทำการ Spam ในการหา Link เข้าเว็บไซต์คุณ

191.ไม่มีลิงก์กลับที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

192.ไม่เป็นเว็บที่ถูก Penguin Algo คาดโทษ
Penguin Algorithm เป็นวิธีคิดที่ Google ออกมาเมื่อปี 2012 เพื่อจำกัดเว็บที่มีการสร้าง Link แบบผิดธรรมชาติ

193.ไม่มีลิงก์กลับจากหน้า Profile ที่ไม่มีคุณภาพ
ลิงก์ที่คนทำ SEO ส่วนใหญ่มักใช้กันเช่น ช่องความคิดเห็นตามเว็บ Blog, หรือ หน้า Profile ของเว็บบอร์ดต่างๆ ซึ่ง Google จะมองว่าเป็นลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพ

194.ไม่มีลิงก์จากเว็บที่ไม่เกี่ยวข้องจำนวนมาก

195.ไม่ถูกเตือนเรื่องมีลิงก์ผิดธรรมชาติบน Google Webmaster Tools แล้วไม่แก้ไขดู Webmaster Tools

196.ไม่มีลิงก์จาก IP Class C เดียวกันมากๆ
IP Class C เดียวกัน บ่งบอกถึงคุณกำลังสร้างเว็บไซต์เหล่านั้นเอง เพื่อลิงก์ไปยังเว็บหลักที่คุณต้องการ

197.ไม่มีลิงก์กลับที่มีข้อความที่ผิดกฏ Google
เช่น ข้อความเกี่ยวกับ สารเสพย์ติด เป็นต้น

198.ไม่ควรถูกแบนโดยทีมงาน Google เอง
Google มีพนักงานที่จะคอยตรวจสอบเว็บไซต์ที่ทำผิดกฏ

199.ไม่มีลิงก์ที่มาจากการซื้อ Link

200.ไม่ได้ถูกใส่ใน Google Sandbox
Google มักจะนำเว็บไซต์ใหม่ๆที่เพิ่งเกิดขึ้นและมีพฤติกรรมที่ไม่ปกติเข้าไปใน Sandbox เพื่อสังเกตการณ์ และลดการแสดงผลใน SERP หากไม่ได้ทำผิดจริงก็จะถูกนำออกจากกล่องทรายนี้ได้

201.ทดสอบด้วย Google Dance
Google Dance เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทดสอบว่าเว็บของคุณกำลังหลอกลวง Google อยู่หรือเปล่า ด้วยการแสดงผลอันดับแกว่งขึ้น-ลงตลอดเวลา

202.ปฏิเสธลิงก์กลับที่ถูกกลั่นแกล้ง
เนื่องจาก Link กลับเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ บางครั้งอาจถูกกลั่นแกล้งจากผู้ไม่หวังดี ดังนั้น Google จึงเปิดโอกาสให้เราปฏิเสธ/ยกเลิก Link ที่ผิดกฏเหล่านั้นที่วิ่งมาหาเว็บของเราได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมปฏิเสธลิงก์

203.การร้องขอสำเร็จ
หากคุณร้องขอ Google เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่ถูกคาดโทษ แล้ว Google ยอมรับ ก็จะทำให้โทษนั้นหายไปได้

204.ไม่มี Link หลอกชั่วคราว
Google สามารถจับได้ว่า มีการใส่ลิงก์กลับไปเพื่อเพิ่มคะแนน และนำออกจากเว็บนั้นอย่างรวดเร็ว ทาง SEO เรียกว่า “temporary link scheme”

ถ้าการทำ SEO ทั้ง 200 กว่าข้อนี้มันดูเยอะเกินไปในการจัดการ ลองมาให้ทีมงานของเราให้คำปรึกษาดูได้ รับบริการ SEO ปรึกษา SEO ให้ฟรีทุกธุรกิจ สอนใจสามารถติดต่อทีมงาน ผลสมหวัง มาร์เก็ตติ้ง ได้ที่นี่เลย

บริการ SEO

ผลสมหวัง มาร์เก็ตติ้ง ให้บริการ SEO

ขอบคุณข้อมูลจาก backlinko.com

ผลลัพธ์การค้นหาของ Google (SERP)

SERP หรือ Search Engine Results Page คืออะไร ?

หมายถึง หน้าผลลัพธ์การค้นหาของ Google นั่นเอง แน่นอนว่า เราต้องการให้อันดับของเราอยู่ที่หน้าแรกและสูงที่สุด

เกร็ดความรู้เรื่องผลลัพธ์การค้นหา

  • ผลลัพธ์จะแบ่งออกเป็น Ad (เสียเงิน) และ SEO (ทำได้เอง)
  • อันดับที่แสดงขึ้นกับ “คำค้นหา” (Keywords)
  • จำนวนผลลัพธ์รายการแบบ SEO ในหน้าแรกอาจมี 7-10 เว็บ ขึ้นกับคำค้นหา
  • จำนวนผลลัพธ์รายการแบบ Ad ในหน้าแรกอาจมี 0-7 เว็บ ขึ้นกับผู้ลงโฆษณา ณ ขณะนั้น (บนสุด 4 เว็บ, ล่างสุด 3 เว็บ)
  • ผู้ค้นหามักจะมองผ่านส่วนการแสดงผลที่เป็น Ad
  • Title, Description ที่แสดงอาจไม่ตรงกับที่ตั้งไว้ (ขึ้นกับคำค้นหา)
  • Keywords ที่ตั้งค่าที่ร้านจะไม่ถูกแสดงใน SERP
  • ผลลัพธ์ที่ได้อาจมีรายการ วิดีโอ/รูปภาพ/ข่าว/ข้อมูล Wiki หากเกี่ยวข้องกับคำค้นหา
  • 1 โดเมนสามารถอยู่ได้หลายรายการ (หลาย Page URL) ในผลลัพธ์การค้นหา

นี่คือตัวอย่างผลลัพธ์หน้าการค้นหาด้วยคำว่า “ร้านค้าออนไลน์” จะเห็นได้ว่า ถึงแม้อยู่อันดับที่ 1 ของ SEO แต่จะเป็นอันดับที่ 5 จากทั้งหมด เนื่องจากมีผู้ลงโฆษณา (Ad) ณ ขณะนั้น 4 รายการ นั่นเอง

เกร็ดความรู้ในการพิมพ์ค้นหา

  • ใช้เครื่องหมาย ” (ฟันหนู) คร่อมข้อความที่คุณต้องการค้นหาแบบตรงทั้งหมด
    เช่น “วิธีทำ SEO” จะได้ผลลัพธ์ที่ต้องมีคำว่า “วิธีทำ SEO” แบบนี้เท่านั้น ถึงจะแสดงใน SERP ซึ่งต่างกับการค้นหาแบบไม่มี ” คร่อม ที่จะแสดงผลลัพธ์หน้าที่มีคำว่า “วิธีทำ” และ “SEO” ที่ไม่ต้องติดกันก็ได้
  • ใช้เครื่องหมาย – (ขีดกลาง) หน้าคำที่ไม่ต้องการ
    เช่น วิธีทำ SEO -blackhat จะได้ผลลัพธ์เป็นเว็บที่มีคำว่า วิธีทำ , SEO และต้องไม่มีคำว่า blackhat
  • ใช้เครื่องหมาย _ (ขีดล่าง) แทนคำหรือวลีที่ไม่ทราบ ก่อนหน้า keyword ที่ต้องการ
    เช่น _ seo จะได้การแนะนำคำที่อยู่ก่อนหน้า seo นั่นเอง
  • ใช้เครื่องหมาย # (สี่เหลี่ยม) หน้าคำที่ต้องการหา Hashtag ที่เป็นที่นิยม
  • ใช้เครื่องหมาย * (ดอกจัน) แทนคำหรือวลีที่ไม่ทราบ โดยใช้ร่วมกับเครื่องหมาย ” “
    เช่น “รัก * ให้ผูก รัก * ให้ตี” เป็นต้น